Skip to main content

ชื่อเสียงบนกระดาษ


" Try not to become a man of success
  but rather to become a man of value. "

-- Albert Einstein


ช่วงเดือนก่อนมีเพื่อนของคุณพ่อเอาหนังสือพิมพ์มาให้ (ไทยรัฐ) ก็งงๆ ว่าเอามาให้ทำไม เลยพบว่า อ้าวมีข่าวไร้นามลงหนังสือพิมพ์นินา (หน้าข่าวสังคม ลงทั้งภาพ ทั้งชื่อ ทั้งนามสกุล) ยังงงๆ อยู่ว่าใครเอาไปลงแล้วรู้ชื่อนามสกุลจริงเราได้ไง พอไร้นามเอามาดูเสร็จก็วางทิ้งไว้ตรงมุมตู้หนังสือ อาทิตย์ก่อนเพื่อนแวะมาเที่ยวบ้าน แล้วก็คุยกันเรื่องลงหนังสือพิมพ์ (คือเพื่อนก็มีข่าวลงหนังสือพิมพ์) ก็เลยหยิบให้ดูหน่อยว่าแปลกดีที่ใครก็ไม่รู้เอาชื่อไร้นามประกอบรูปไปลงแล้วก็เอาไปไว้ที่เดิม (ซึ่งมีหนังสือ ฯลฯ วางทับอยู่ก่อนดึงออก) เพื่อนก็โวยวายใหญ่ ว่าทำไมไม่ดูแลดีๆ ไม่ตัด/ไม่เอาไปเคลือบเหรอ?

แต่ทุกวันนี้หนังสือพิมพ์ฉบับนี้ก็ยังกองอยู่ตรงนั้น... และนี่ก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่ไร้นามทำอะไรประมาณนี้ จำได้ว่ามี column นึงลงหนังสือพิมพ์ มติชน สมัยจบใหม่ๆ (ประวัติที่จบได้ที่หนึ่งมหาลัยอะไรประมาณนั้น) ลงรูป ลงภาพ ลงประวัติ เป็นมุมพิเศษ พออ่านหนังสือพิมพ์เสร็จ... แล้วมันก็ผ่านไปหายไปไหนแล้วก็ไม่รู้ (ไม่ได้เก็บไว้)... สัมภาษณ์ออก ITV สมัยก่อนโน้นก็ไม่ได้อัดไว้ (จริงๆ คือไม่ได้มาตามดูด้วยซ้ำ แหะ แหะ) ฯลฯ...

มีใครบ้างไหม ที่เรียนจบ PhD จากเมืองนอกมา แล้วเผลอเอาใบปริญญาบัตร (ปริญญาโท & เอก) รวมไปกับขยะทิ้งไป? เพราะไร้นามเห็นปริญญาเป็นเพียงกระดาษแผ่นหนึ่งจริงๆ (ความรู้/กระบวนการคิดอยู่ในหัว) จำได้ว่าตอนเข้างาน (พอดีไม่ได้สมัครงานแต่โดนเรียกมาเพราะรู้จักกันอยู่แล้วเลยไม่ต้องใช้ใบปริญญา) แต่สุดท้ายตอนเซ็นต์สัญญาเข้างานต้องเอาใบปริญญามาให้แผนกบุคคลเก็บเป็นหลักฐาน ตอนนั้นวุ่ยวายเลย เพราะต้องเขียนจดหมายไปขอให้เคมบริดจ์ออกใบปริญญามาให้ใหม่ (ซึ่งปัจจุบันนี้ - วันก่อน รื้อๆ กองเอกสาร ก็เจอใบปริญญาเอกแทรกอยู่ /ขนาด A4 รวมกับพวกเอกสารธรรมดา ^^') ใครๆ ก็บอกว่าปริญญาเอกเลยนะ ให้เอาไปใส่กรอบแขวนไว้เลย ไร้นามก็ยังรู้สึกเฉยๆ และก็เอาปริญญาเอก โท กองรวมกับกระดาษพวกนั้นต่อไป...

น้องๆ ที่บริษัทและพวกเด็กๆ วงการคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบันตอนนี้ดูจะเห่อๆ การสอบใบ certificate ไร้นามเห็นแล้วสะท้อนใจยิ่งนัก เพราะเป็นการท่องตำราไปสอบ ใครท่องได้ ก็สอบได้ แต่การปฏิบัติจริง... ก็ต้องว่ากันอีกที... พอถามไปว่าได้ใบ cer แล้วดียังไง... หลายๆ คนก็ตอบว่าเป็นที่ยอมรับ (?) ไม่รู้เด็กๆ รุ่นหลังจะรู้ไหม ว่าคนดังในวงการคอมพ์เรานั้น ไม่ค่อยสนใจพวกนี้เลย (นอกจากอยากไปทำงาน consult) เช่น Bill Gates ก็ทิ้งปริญญาไม่เรียนตรีให้จบเลย ออกไปทำงาน, พวกคนที่ invent ระบบคอมพ์ต่างๆ ของโลกเช่นเพื่อนๆ ของไร้นามที่ทำงานกันที่ Microsoft Research Lab เคมบริดจ์ หรือ เพื่อนที่สถาบันวิจัยอย่าง Cambridge MIT Institute หรือเพื่อนสมัยฝึกงานเอกชนที่ IBM UK ที่ไร้นามได้พบได้เจอมาเค้าก็ไม่ได้ห่วงสอบใบ cer หรือห่วงหารับคนมีใบ cer เข้าไปทำงาน แต่เค้าคนหาคนที่ "รู้" มาสร้างงานใหม่ๆ หรือทำงานที่มีให้ work ได้ออกมา...

กลับมาเมืองไทยหลายๆ ครั้งไร้นามรู้สึกเบื่อๆ กับสังคมที่เห็นกระดาษ ดีกว่าการพิสูจน์ด้วยความสามารถ บางคนก็บอกว่าถ้าไม่มีกระดาษที่รับรองอะไรเลย จะรู้ได้อย่างไรว่าคนๆ นั้นมีความสามารถ? แต่ไร้นามอยากถามกลับกัน... สำหรับคนที่มีกระดาษมากๆ เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าคนๆ นั้นมีความสามารถในภาคการปฏิบัติจริง? ไร้นามชอบสังคมที่คนเรารักจะทำอะไรก็ทำจนเชี่ยวชาญจริงๆ และอยู่กับมัน แล้วคนอื่นเมื่อเจอปัญหาที่ความเชี่ยวชาญเค้าจะช่วยเหลือได้ก็เชิญให้มาช่วยเหลือกัน ถ้าเป็นแบบนี้ความรู้มวลรวมของไทยจะแข็งขึ้น แต่สังคมไทยเรากำลังสร้าง เด็กรุ่นใหม่ ที่สร้างชื่อเสียงขึ้นมาจากการสะสม 'กระดาษ' แล้วนำมาใช้อ้างขอมาแก้ปัญหาด้วยมีวุฒิ แต่พอปฏิบัติจริง หลายๆ คนที่มีกระดาษรับรองว่าผ่าน cer อันนี้ อันนั้น ก็กลับแก้ไม่ได้ คราก่อนมีปัญหาระบบใหญ่มากระบบหนึ่ง เรียกคนที่มี 'กระดาษ' เยอะมากสุดในเมืองไทย มาทำงานเรียกมาลองหลายคนค่าแรงต่อวันเหยียบแสน! กลับแก้ไม่ได้ ไร้นามเดินไปถามคำถามง่ายๆ ที่คนที่เคยทำงานด้านนี้ในชีวิตประจำวัน ต้อง "รู้" กลับตอบว่า ขอโทษนะครับ... ผมไม่คุ้ยเคย... พอเรามี idea อะไร ก็... ประมาณอย่าลองเลยครับ ทฤษฏีมันห้ามไว้... เสื่อมศรัทธาไปเลย... (แล้วจะจ้างผู้เชี่ยวชาญอันดับหนึ่งด้านนี้มาทำไมให้เสียเงิน ซื้อตำรามาศึกษาเองทำเองดีกว่าไหม!)... สุดท้ายก็ตัดสินใจทำนอกทฤษฏีก้นเองเตะไอ้พวกนั้นออกไป (หลายบริษัท)... ทุกอย่างก็ work... นี่หรือสังคมวงการธุรกิจคอมพิวเตอร์เมืองไทย รู้อะไรกันแค่ผิวๆ สะสมกันแต่กระดาษ สร้างชื่อเสียงด้วยกระดาษ ทำงานได้ตามตำรา/ทฤษฏี อะไรนอกคอก ไม่กล้าทำ (ไม่กล้าลอง ไม่คิดจะลองหลายๆ วิธีก่อนไปอาสาทำงานให้คนอื่น)

แต่ก็ยอมรับว่ามีหลายๆ คนที่แหวกแนวออกมา คนไทยเก่งๆ จริงๆ โดยไม่ยึดติดกับกระดาษก็มี หรือโดยมีกระดาษติดตัวมาตามความสามารถก็มี แต่สังคมไทยเรากำลังทำให้วงการทั้งวงการต้องเสียชื่อโดยการออก 'กระดาษ' กันเกลื่อนกราดให้กับคนที่ทำงานไม่เป็น (ทำ"ได้" กับ ทำ"เป็น" นั้นไม่เหมือนกัน) แต่มีแรงอ่านตำรา และ มีตังค์สมัครสอบใบ cer ออกมาในตลาดแรงงานอย่างมากมาย ถ้าระบบของไทยเรายังเป็นแบบนี้ต่อไป แล้วถึงวันนึงศรัทธาต่อ 'กระดาษ' ที่มากมายนั้นๆ มันจะด้อยค่าลง ด้วยเพราะตัวกระดาษมันนั้นเองจะลดคุณค่าตนเองไป...

มองไปในโลกลวง
มีบ่วงหลอกลุ่มหลง
ตรากฏเกณฑ์ปักลง
สร้างพงให้หลงเดิน

กระดาษก่อชื่อเสียง
ก็เพียงสิ่งผิวเผิน
ความรู้ช่างหมางเมิน
สรรเสริญเพียงแต่เงา

ทำงานด้วยใจรัก
รู้จักใช่ไหมเจ้า
ศึกษาสร้างค่าเรา
ให้เท่าที่พึงเป็น

เพื่อเกิดภาคภูมิใจ
อยู่ไหนคนจะเห็น
ถึงค่าที่คุณเป็น
ซ่อนเร้นในตนเอง
 


Create Date : 11 กันยายน 2550

Comments

Popular posts from this blog

Saraburi

อุ่นไอแดดแผดริ้วไล้ผิวโลก ลบทุกข์โศกวาดสิ่งใหม่ใส่เติมฝัน เปิดท้องฟ้าจากมืดมิดพลิกงามพลัน สมเฉกชั้นธรรมชาติวาดระบาย เมื่อเดือนก่อนได้มีโอกาสไปทำบุญที่สระบุรีและแวะเที่ยวฟาร์มโชคชัยกับทาง Software Park และ สวทช. ตอนทำบุญก็ทำบุญเพลินไปเล็กน้อยเลยไม่ได้ถ่ายภาพมา เพิ่งรู้ตัวว่าควรถ่ายรูปบ้างก็ตอนเที่ยวฟาร์มโชคชัยดังนั้น Blog คราวนี้เลยมีแต่ภาพฟาร์มโชคชัยเป็นหลักนะคะ หมู่ปักษาโบยบินบนห้วงฟ้า ยึดนภาดั่งเช่นเป็นจุดหมาย สร้างเสรีเป็นของตนจนปล่อยคลาย ไม่เสียดายพื้นดินบินขึ้นไป ฟาร์มโชคชัยจัดไว้ดีพอสมควรคือแบ่งทัวร์เป็นกลุ่มๆ แล้วนั่งรถไปชมจุดการแสดงประกอบการบรรยายเป็นจุดๆ และให้เวลาเดินในแต่ละจุดพอสมควร ทำให้ได้สัมผัสชีวิตการทำฟาร์มโคนมแบบมีกลิ่นอาย Cowboys เล็กๆ เพราะมีการแสดงการดูแลฝูงวัวและอื่นๆ ให้ได้ชม ธรรมชาติวาดไว้ใส่ชีวิต ขีดลิขิตความงามตั้งแต่ไหน เพียงปลดปล่อยสายตาทอดออกไป อยู่ใกล้ๆ ไม่ไกล... ความงดงาม ส่วนที่ฉันชอบที่สุดในการเที่ยวฟาร์มคือการไปดูสวนสัตว์(เด็กๆ) และได้ให้อาหารสัตว์ เป็นครั้งแรกที่ฉันได้ลองป้อนนมน้องวัวที่เพิ่งเกิดมาได้ไม่กี่วัน คนคิดทำฟาร์มฉลาดทีเดียวที่ทำให้น้องวัวม...

Derwent Valley Mills

หุบเขา อุตสาหกรรม อันตระการ หนึ่งในทริปนี้ที่ทำให้ตัดสินใจซื้อ BritRail คืออยากทดลองนั่งรถไฟตามเส้นทางมรดกโลก UNESCO World Heritage: Derwent Valley Mills ที่มีหลายจุดตามแนวรถไฟในแผนที่ด้านบน แต่ด้วยเวลาจำกัดทริปนี้หลักๆ เลยแวะแค่สองเมืองคือ Derby และ Belper (ที่เหลือคือชมวิวตามแนวทางรถไฟดังรูปภาพบนสุด และ ล่างๆ) ที่ Derwent Valley Mills ได้มรดกโลก เพราะเคยเป็นย่านอุตสาหกรรมที่ทันสมัยตามแนวแม่น้ำ Derwent อย่างเป็นระบบในยุคก่อน มีตำนาน เล่าขาน จรดจารได้ ด้วยความที่ผ่านนี้เป็นเมืองอุตสาหกรรม ตามรายทางจะเห็นวิธีการผลิตไฟฟ้าด้วยถ่านหินของยุคก่อน จนถึงวิธีการผลิตไฟฟ้าแบบสะอาดของยุคใหม่ เช่นกังหันลม (ตามภาพข้างบน) และ Solar Cells (ซึ่งถ่ายภาพไม่ทัน) / ส่วนภาพข้างล่างคือภาพสถานีรถไฟ Belper ซึ่งเหมือนอยู่ในร่องหุบเขา ด้านบนๆ จะเป็นระดับถนนและแนวบ้านจะเข้าเมืองต้องเดินขึ้นบันไดขึ้นเนินเขาไปที่ระดับถนน เวลารถไฟมาในบริเวณนี้คือจะมีถนนตัดทางรถไฟอยู่ด้านบนเป็นระยะๆ ตามแบบในภาพ ให้ผู้คน รุ่นหลัง เรียนรู้ไว้ เมือง Belper เห็นในแผนที่ (ข้างบน) จะไม่รู้ว่าเป็นต่างระดับ แต่พอเดินก็พบว่าเป็นหุบเขาขึ้น...

Cambridge 2024 - Town

คิดถึง เคมบริดจ์ ...จึงกลับมา... กลับมาอังกฤษรอบนี้เป็นเพราะคิดถึงเมืองเคมบริดจ์ พอคอลเลจมีจดหมายเชิญให้คน Matriculation ปี 1999 กลับมา Reunion เพราะครบรอบ 25 ปีที่ลงทะเบียนเรียนที่เคมบริดจ์ และด้วยเหตุนี้ ทริปอังกฤษคราวนี้เลยตัดสินใจมาอยู่ที่เมืองเคมบริดจ์ถึง 4 วัน เพราะมีทั้งกิจกรรม Reunion ศิษย์เก่า ทั้งนัดพบปะเพื่อนฝูง-ครูบาอาจารย์ และ มีที่ๆ อยากจะดูนั่นดูนี่ของเมืองเคมบริดจ์ให้สมกะความผูกพัน (เพราะเคยอยู่ที่นี่ถึง 5 ปี) แล้วพอจัดทำภาพก็พบว่าทำเคมบริดจ์ blog เดียวนั้นไม่พอ เลยจะทำ blog ให้เมืองเคมบริดจ์ 2 อันนะคะ แบ่งเป็น Town & Gown (ส่วนที่เกี่ยวกับตัวเมือง และ ส่วนที่เกี่ยวกับตัวมหาลัย) เพราะเคมบริดจ์เป็นเมืองมหาวิทยาลัย คือทั้งเมืองเป็นมหาวิทยาลัย Town & Gown จะอยู่ผสมๆ กัน เป็นมหาลัยขนาดใหญ่และอบอุ่น ตามหา เรื่องราว ที่เคยฝัน บรรยายภาพก่อนนะคะ ภาพบนสุดเป็น Great St. Mary's Church โบสถ์หลักกลาง City Center ของ Cambridge จะอยู่ตรงใกล้ๆ Market Square วิวบริเวณนี้จะสวยมากๆ ใครมาเที่ยวเมืองเคมบริดจ์แนะนำนะคะ แถวนี้เดินได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เมืองเคมบริดจ์เป...